วิถีสร้างการเรียนรู้ เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ ๒๑
ศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่ไว้ดังนี้
• มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ
แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะ
ของตน
•ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง
ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการ ของตน (customization &
personalization)
•ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
(scrutiny)
•เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
เพื่อรวมตัวกัน เป็นองค์กร เช่น ธุรกิจ รัฐบาล และสถาบันการศึกษา
•ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน
การเรียนรู้
และชีวิตทางสังคม
• การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
•ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
•สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต
หลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑ ไว้ ๕ ประการคือ
• Authentic learning
• Mental model building
• Internal motivation
• Multiple intelligence
• Social learning
ภาค ๑ ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills)
บทบาทของการศึกษา เปรียบเทียบยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และ
ยุคปัจจุบันที่เรียกว่ายุคความรู้ ไว้ใน ๔ บทบาท อันได้แก่
(๑) เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม
(๒) เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน
(๓) เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ
(๔) เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า
ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” คือ ในการจัดกิจกรรม
ต่าง ๆ ของเด็ก ครูต้องตอบได้ว่า ศิษย์ได้เรียนอะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้
เรียนสิ่งเหล่านั้น ครูต้องทำอะไร ไม่ทำอะไร ในสภาพเช่นนี้ ครูยิ่งมีความ
สำคัญมากขึ้น และท้าทายครูทุกคนอย่างที่สุดที่จะไม่ทำหน้าที่ครูผิดทาง
คือ ทำให้ศิษย์เรียนไม่สนุก หรือเรียนแบบขาดทักษะสำคัญ
สาระวิชาหลัก
• ภาษาแม่ และภาษาโลก
• ศิลปะ
• คณิตศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์
• วิทยาศาสตร์
• ภูมิศาสตร์
• ประวัติศาสตร์
• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี
ศาสตราใหม่ สำหรับครูเพื่อศิษย์
ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล
ไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C
3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
พัฒนาสมองห้าด้าน
สมอง ๕ ด้าน ได้แก่
สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind)
สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind)
สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind)
สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind)
สมองด้านจริยธรรม (ethical mind)
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
การเรียนรู้ทักษะในการเรียนรู้ (learning how to learn หรือ learning skills) และเรียนรู้ทักษะในการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น (นวัตกรรม) ประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
๑. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และการแก้ปัญหา (problem solving) ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (expert thinking)
๒. การสื่อสาร (communication) และความร่วมมือ (collaboration) ซึ่งหมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (complex communicating)
๓. ความริเริ่มสร้างสรรค์ (creativity) และนวัตกรรม (innovation) ซึ่งหมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking)
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณนี้ สอนไม่ได้ หรือสอนได้
น้อยมาก นักเรียนต้องเรียนเอาเองโดยการฝึกฝน ครูจะเป็นโค้ชของการ
ฝึกหัดนี้ โค้ชที่เก่งจะทำให้การเรียนรู้นี้สนุกตื่นเต้นเร้าใจ
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
ทักษะด้านสารสนเทศ (Information Literacy)
ทักษะด้านสื่อ (Media Literacy Skills)
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)
ทักษะด้านความเป็นนานาชาติ
ปััจจุบัน ๑๐ ประเทศในภูมิภาคอาเซียนกำลังจะก้าวสู่ความเป็น
ประชาคมอาเซียน และความร่วมมือหลักมี ๓ ด้านคือ ความมั่นคง
เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม
ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and Adaptibility)
การริเริ่มและกำกับดูแลตนเองได้ (Initiative and Self-Direction)
ภาค ๒ แนวคิดการเรียนรู้สำหรับ ครูเพื่อศิษย์
สมดุลใหม่ในการทำหน้าที่ ครูเพื่อศิษย์
เป้าหมายของการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ คือ ปูพื้นฐานความรู้และทักษะเอาไว้สำหรับการมีชีวิตที่ดีในภายหน้า
สอนน้อย เรียนมาก
สอนน้อย เรียนมาก (Teach Less, Learn More) เป็นอุดมการณ์ด้านการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าครูทำงานน้อยลง แต่ความจริงกลับต้องทำงานหนักขึ้น เพราะต้องคิดหาวิธีให้นักเรียนเรียนได้มากขึ้น คือ ครูสอนน้อยลง แต่หันไปทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ ชักชวนนักเรียนทบทวนว่าในแต่ละกิจกรรมของการเรียนรู้ นักเรียนได้เรียนรู้อะไร และอยากเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีก
เครื่องมือที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้ และการสอนในศตวรรษ
ที่ ๒๑ คือ คำถามกับปัญหา
การเรียนรู้อย่างมีพลัง
เครื่องมือของการเรียนรู้อย่างมีพลังคือ จักรยานแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีวงล้อประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ Define, Plan, Do และ Review วงล้อมี ๒ วง วงหนึ่งเป็นของนักเรียน อีกวงหนึ่งเป็นของครู หลักสำคัญ
คือ วงล้อจักรยานแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนกับครูต้องไปด้วยกันอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
ครูเพื่อศิษย์ชี้ทางแห่งหายนะ ที่รออยู่เบื้องหน้า
ในโลกยุคใหม่ โอกาสที่ชีวิตจะสดใสอยู่ดีมีสุขก็มีมากและโอกาสที่ชีวิตจะตกอเวจี เดินทางผิด เข้าสู่หนทางแห่งความมืดมนก็มีมาก โอกาสทั้งสองขั้วนี้เปิดอ้าและล่อหลอกให้เยาวชนวิ่งเข้าไปหา และดูเหมือนขั้วหลังจะยั่วยวนใจมากกว่า ทำอย่างไรศิษย์ของเราจะไม่โดนดูดเข้าไปในบ่วงมารนี้ นี่คือ ทักษะครูเพื่อศิษย์ที่สำคัญยิ่ง
ภาค ๓ จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
สมดุลระหว่าง ความง่ายกับความยาก
ความจริงเกี่ยวกับการคิด ๓ ประการ ที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเดิม ได้แก่
๑. การคิดทำได้ช้า
๒. การคิดนั้นยาก ต้องใช้ความพยายามมาก
๓. ผลของการคิดนั้นไม่แน่ว่าจะถูกต้อง
ความคิดกับความรู้เกื้อกูลกัน
ในความเป็นจริงแล้ว คนเราจะคิดได้ลึกซึ้งหรือมีวิจารณญาณ ต้องมีความรู้มาก ที่เขาเรียกว่า มีต้นทุนความรู้ (background knowledge) ซึ่งที่จริงในบ้านเราก็คิดเช่นนั้น เราจึงยกย่องคนที่เป็นพหูสูตซึ่งแปลว่า ได้ยินได้ฟังมามากคือ มีความรู้มากนั่นเอง และเป็นที่รู้กันว่าต้องส่งเสริมให้ลูกและศิษย์อ่านหนังสือ และรักการอ่านตั้งแต่เด็กจนเป็นนิสัย ไทยเรามีวลี “คิดอ่าน” ซึ่งน่าจะสะท้อนแนวคิดว่าเราเชื่อว่า ความคิดกับความรู้เป็นสิ่งที่
เสริมส่ง เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
เพราะคิดจึงจำ
ครูที่เก่งมีคุณลักษณะสำคัญ ๒ ด้าน คือ
๑. รักเอาใจใส่เด็ก เด็กสัมผัสจิตใจเช่นนั้นได้และสบายใจที่จะเข้าหา ซึ่งเป็นมิติด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์
๒. สามารถออกแบบการเรียนรู้ ให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายสำหรับศิษย์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกและเกิดความจำระยะยาว
สมดุลใหม่ในการทำหน้าที่ ครูเพื่อศิษย์
เป้าหมายของการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ คือ ปูพื้นฐานความรู้และทักษะเอาไว้สำหรับการมีชีวิตที่ดีในภายหน้า
สอนน้อย เรียนมาก
สอนน้อย เรียนมาก (Teach Less, Learn More) เป็นอุดมการณ์ด้านการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าครูทำงานน้อยลง แต่ความจริงกลับต้องทำงานหนักขึ้น เพราะต้องคิดหาวิธีให้นักเรียนเรียนได้มากขึ้น คือ ครูสอนน้อยลง แต่หันไปทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ ชักชวนนักเรียนทบทวนว่าในแต่ละกิจกรรมของการเรียนรู้ นักเรียนได้เรียนรู้อะไร และอยากเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีก
การเรียนรู้และการสอน ในศตวรรษที่ ๒๑
เครื่องมือที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้ และการสอนในศตวรรษ
ที่ ๒๑ คือ คำถามกับปัญหา
การเรียนรู้อย่างมีพลัง
เครื่องมือของการเรียนรู้อย่างมีพลังคือ จักรยานแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีวงล้อประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ Define, Plan, Do และ Review วงล้อมี ๒ วง วงหนึ่งเป็นของนักเรียน อีกวงหนึ่งเป็นของครู หลักสำคัญ
คือ วงล้อจักรยานแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนกับครูต้องไปด้วยกันอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกัน
ครูเพื่อศิษย์ชี้ทางแห่งหายนะ ที่รออยู่เบื้องหน้า
ในโลกยุคใหม่ โอกาสที่ชีวิตจะสดใสอยู่ดีมีสุขก็มีมากและโอกาสที่ชีวิตจะตกอเวจี เดินทางผิด เข้าสู่หนทางแห่งความมืดมนก็มีมาก โอกาสทั้งสองขั้วนี้เปิดอ้าและล่อหลอกให้เยาวชนวิ่งเข้าไปหา และดูเหมือนขั้วหลังจะยั่วยวนใจมากกว่า ทำอย่างไรศิษย์ของเราจะไม่โดนดูดเข้าไปในบ่วงมารนี้ นี่คือ ทักษะครูเพื่อศิษย์ที่สำคัญยิ่ง
ภาค ๓ จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
สมดุลระหว่าง ความง่ายกับความยาก
ความจริงเกี่ยวกับการคิด ๓ ประการ ที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเดิม ได้แก่
๑. การคิดทำได้ช้า
๒. การคิดนั้นยาก ต้องใช้ความพยายามมาก
๓. ผลของการคิดนั้นไม่แน่ว่าจะถูกต้อง
ความคิดกับความรู้เกื้อกูลกัน
ในความเป็นจริงแล้ว คนเราจะคิดได้ลึกซึ้งหรือมีวิจารณญาณ ต้องมีความรู้มาก ที่เขาเรียกว่า มีต้นทุนความรู้ (background knowledge) ซึ่งที่จริงในบ้านเราก็คิดเช่นนั้น เราจึงยกย่องคนที่เป็นพหูสูตซึ่งแปลว่า ได้ยินได้ฟังมามากคือ มีความรู้มากนั่นเอง และเป็นที่รู้กันว่าต้องส่งเสริมให้ลูกและศิษย์อ่านหนังสือ และรักการอ่านตั้งแต่เด็กจนเป็นนิสัย ไทยเรามีวลี “คิดอ่าน” ซึ่งน่าจะสะท้อนแนวคิดว่าเราเชื่อว่า ความคิดกับความรู้เป็นสิ่งที่
เสริมส่ง เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
เพราะคิดจึงจำ
ครูที่เก่งมีคุณลักษณะสำคัญ ๒ ด้าน คือ
๑. รักเอาใจใส่เด็ก เด็กสัมผัสจิตใจเช่นนั้นได้และสบายใจที่จะเข้าหา ซึ่งเป็นมิติด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์
๒. สามารถออกแบบการเรียนรู้ ให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายสำหรับศิษย์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกและเกิดความจำระยะยาว
ความเข้าใจคือความจำจำแลง สู่การฝึกตนฝนปัญญา
Why is it so hard for students to understand abstract ideas? และบทที่ ๕ เรื่อง Is drilling worth it? ในหนังสือของ ศ. วิลลิงแฮมนั้นกล่าวว่า เรื่องที่เป็นนามธรรมจะยากต่อความเข้าใจ เพราะสมองสร้างมาสำหรับเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรม
การฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทักษะพื้นฐานทางการเขียน (เรียงความ ย่อความ) มีประโยชน์ ๓ ประการ
๑. ได้ทักษะคิดลึก และได้ความรู้ที่ลึก
๒. ป้องกันการลืม
๓. ช่วยการนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ (transfer)
ฝึกฝนจนเหมือนตัวจริง
คนหัดใหม่มีวิธีทำให้ตนเองคิดแบบผู้เชี่ยวชาญด้วย ๔ กลไก ได้แก่
๑. เพิ่มต้นทุนความรู้ (background knowledge หรือ longterm memory) และจัดระบบไว้อย่างดี ให้พร้อมใช้ (เรียกว่า functional knowledge) ดึงเอาไปใช้ตรงตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
๒. ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถใช้พื้นที่ความจำใช้งานที่มีจำกัดในการคิดได้มากและซับซ้อนขึ้น
๓. ฝึกคิดแบบลึก (deep structure) หรือแบบ functional หรือคิดตีความหาความหมาย (meaning) ไม่ใช่คิดแบบตื้น (surface structure) ตามที่ตาเห็น
๔. คุยกับตัวเองว่า กำลังขบปัญหาอะไรอยู่ ในลักษณะของการมองแบบนามธรรม หรือแบบสรุปรวบยอด (generalization) และตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการแก้ปัญหานั้นไปในตัว
สอนให้เหมาะต่อความแตกต่าง ของศิษย์
นักเรียนมีความแตกต่าง ๓ แนว ได้แก่
๑. ความสามารถทั่วไปในการเรียนรู้ อาจเรียกว่าเด็กฉลาด เด็กหัวไว เด็กหัวช้า
๒. รูปแบบการเรียน ตามทฤษฎีมีผู้เรียนแบบเน้นจักษุประสาท แบบเน้นโสตประสาท และแบบเน้นการเคลื่อนไหว (Visual, Auditory, and Kinesthetic Learners Theory)
๓. ความฉลาด ๘ ด้าน ตามทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)
ช่วยศิษย์ที่เรียนอ่อน
ความฉลาดเป็นทั้งสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ใส่ตัว ด้วยการพากเพียรฝึกฝน หรืออาจกล่าวว่า “อัจฉริยะสร้างได้” นั่นเอง แต่สำหรับเด็กบางคน ต้องทำงานหนัก ฝึกฝนหนักกว่าคนอื่น จึงจะสร้างความอัจฉริยะให้แก่ตนเองได้ ครูเพื่อศิษย์มีหน้าที่ช่วยเป็นโค้ชแก่ศิษย์เรียนช้าเหล่านี้ และการทำหน้าที่นี้ ครูจะได้เรียนรู้จิตวิทยาการรับรู้ (cognitive psychology) ภาคปฏิบัติอย่างไม่รู้จบ
ฝึกฝนตนเอง
ครูที่ดี ต้องเรียนรู้เคี่ยวกรำฝึกฝนตนเองยิ่งกว่าศิษย์ จึงจะเป็นครูที่ดีได้ ต้องไม่ใช่แค่เอาใจใส่และรักศิษย์ แต่ต้องศึกษาฝึกฝนหาวิธีการเป็น “โค้ช” หรือ “คุณอำนวย” (facilitator) ของการเรียนรู้ของศิษย์ที่ดีหรือเหมาะสมยิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยต้องตระหนักว่า ในโลกยุคใหม่ เด็กและสังคมเปลี่ยน ทฤษฎีการเรียนรู้เก่า ๆ บางทฤษฎีล้าหลังหรือใช้ไม่ได้ผล ครูจึงต้องเรียนรู้ ทดลองใช้ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่มีการวิจัยพัฒนาขึ้น โดยเฉพาะ ครู พื่อศิษย์ อย่างยิ่ง จากความก้าวหน้าด้านประสาทวิทยา (neuroscience) และ
จิตวิทยาการรับรู้ (cognitive psychology)
เปลี่ยนมุมความเชื่อเดิม เรื่องการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเรียนรู้ ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของครูในการทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่นักเรียนอยากมา แต่การสั่งสมการเรียนรู้และทักษะของครูตามแผนผังหน้า ๑๑๙ ด้วยการเคี่ยวกรำฝึกฝนตนเอง เพื่อขยายพื้นที่ทั้ง ๓ ส่วนในแผนผัง ย่อมมีคุณประโยชน์ต่อทั้งชีวิตการเป็นครู และต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
ภาค ๔
บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้
กำเนิดและอานิสงส์ของ
PLC
ริชาร์ด ดูฟูร์ (Richard Du Four) เป็น “บิดาของ PLC”
เริ่มทำงานวิจัยพัฒนาและส่งเสริม PLC มาตั้งแต่
คศ. ๑๙๙๘ คือ พ.ศ. ๒๕๔๑ ก่อนผมทำงานเรื่องการจัดการความรู้ (KM) ๕ ปี คือผมทำงาน KM ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่จับ ๒ เรื่องนี้โยงเข้าหากันก็เพราะ PLC (Professional Learning Community) ก็คือ CoP (Community of Practice) ของครูนั่นเอง และ CoP คือรูปแบบหนึ่งของ KM หัวใจสำคัญที่สุดของ PLC คือ เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่ดีของครู PLC คือเครื่องมือที่จะช่วยนำไปสู่การตั้งโจทย์และทำ “วิจัยในชั้นเรียน” ที่ทรงพลังสร้างสรรค์ จะช่วยการออกแบบวิธีวิทยา การวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัย และการสังเคราะห์ออกมาเป็นความรู้ใหม
คศ. ๑๙๙๘ คือ พ.ศ. ๒๕๔๑ ก่อนผมทำงานเรื่องการจัดการความรู้ (KM) ๕ ปี คือผมทำงาน KM ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่จับ ๒ เรื่องนี้โยงเข้าหากันก็เพราะ PLC (Professional Learning Community) ก็คือ CoP (Community of Practice) ของครูนั่นเอง และ CoP คือรูปแบบหนึ่งของ KM หัวใจสำคัญที่สุดของ PLC คือ เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่ดีของครู PLC คือเครื่องมือที่จะช่วยนำไปสู่การตั้งโจทย์และทำ “วิจัยในชั้นเรียน” ที่ทรงพลังสร้างสรรค์ จะช่วยการออกแบบวิธีวิทยา การวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัย และการสังเคราะห์ออกมาเป็นความรู้ใหม
หักดิบความคิด
ในแนวทางใหม่นี้
เน้นเรียนโดยร่วมมือกันมากกว่า แข่งขัน และแข่งกับตัวเองมากกว่าแข่งกับเพื่อน
PLC คือ กระบวนการต่อเนื่องที่ครูและนักการศึกษาทำงานร่วมกัน ในวงจรของการร่วมกันตั้งคำถาม และการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียน โดยมีความเชื่อว่า หัวใจของการพัฒนา การเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น อยู่ที่การเรียนรู้ที่ฝังอยู่ในการทำงานของครูและนักการศึกษา PLC เป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน (complex) มีหลากหลายองค์ประกอบจึงต้องนิยามจากหลายมุม
PLC คือ กระบวนการต่อเนื่องที่ครูและนักการศึกษาทำงานร่วมกัน ในวงจรของการร่วมกันตั้งคำถาม และการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียน โดยมีความเชื่อว่า หัวใจของการพัฒนา การเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น อยู่ที่การเรียนรู้ที่ฝังอยู่ในการทำงานของครูและนักการศึกษา PLC เป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน (complex) มีหลากหลายองค์ประกอบจึงต้องนิยามจากหลายมุม
ความมุ่งมั่นที่ชัดเจนและทรงคุณค่า
การพัฒนาตนเองของครูเพื่อเป็นบุคคลเรียนรู้
(Learning person) และร่วมกับสมาชิกของ PLC พัฒนาซึ่งกันและกัน
ด้วยการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ (interactive learning through
action) คือ มรรควิธีแห่งชีวิตที่มีความสุข
ที่ท่านจะสัมผัสได้ด้วยตนเองเมื่อท่านลงมือทำ
มุ่งเป้าหมายที่การเรียนรู้
(ไม่ใช่การสอน)
หลักการสำคัญคือ
นักเรียนทุกคนได้เรียนเท่าที่จำเป็น (essential
learning) ตามเป้าหมายอันทรงพลัง (power standards) ไม่ใช่เรียนให้จบตามที่กำหนดในหลักสูตร เพื่อให้การเรียนรู้ของศิษย์
เน้นที่การเรียนเท่าที่จำเป็น (essential
learning) มีเครื่องมือในการเลือกความรู้ที่จำเป็นจริง
ๆ
เมื่อนักเรียนบางคนเรียนไม่ทัน
ทำอย่างเป็นระบบ ภายใต้แนวคิดว่า
นักเรียนแตกต่างกัน บางคนเรียนรู้ได้ช้ากว่าและต้องการความช่วยเหลือ
ก็จะมีระบบช่วยเหลือทั้งจากครู เพื่อนนักเรียน และผู้ปกครองทางบ้าน
จนในที่สุดสามารถเรียนได้ทันกลุ่มเพื่อน ๆ คือ มี PLC เพื่อการนี้
นอกจากนักเรียนจะได้รับการดูแลที่ดี ครูก็ได้เรียนรู้ร่วมกันด้วย
มุ่งที่ผลลัพธ์
ไม่ใช่แผนยุทธศาสตร์
เน้นสื่อสารกับครูใหญ่และผู้บริหารเขตการศึกษาว่าต้องเป็นพี่เลี้ยงหรือผู้อำนวยความสะดวก
(facilitator) ต่อทีม PLC
ที่ไม่พาทีม PLC หลงทาง คือ ไปหมกมุ่นอยู่กับแผนยุทธศาสตร์
หรือมุ่งสนองแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนและหรือเขตการศึกษาจนหมดแรง ไปไม่ถึง “ของจริง”
หรือเป้าหมายที่แท้จริง คือ
ผลการเรียนของนักเรียน
พลังของข้อมูลและสารสนเทศ
PLC
กำหนดวิธีจัดและข้อสอบการประเมินเพื่อพัฒนา
ที่ครูทุกคนในทีมใช้ร่วมกัน
เพื่อนำผลของการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนมาเป็นข้อเรียนรู้ของครู
ประยุกต์ใช้ PLC ทั่วทั้งเขตพื้นที่การศึกษา
บทบาทของผู้บริหาร
(ผอ. เขตฯ) สร้างความรู้ที่มีอยู่ร่วมกัน (shared knowledge) ในหมู่กรรมการของเขตพื้นที่การศึกษา
และครูใหญ่โดยการแจกบทความ หนังสือ พาไป ดูงาน
และการปรึกษาหารือแบบสุนทรียเสวนาหรือสานเสวนา (dialogue)
วิธีจัดการความเห็นพ้อง
และความขัดแย้ง
หลักการจัดการความขัดแย้งคือ
ทำให้ความไม่เห็นพ้องเป็นเรื่องธรรมดานำเอาความไม่เห็นพ้องมาเปิดเผย
และใช้เป็นรายละเอียดของการทำงานที่จะไม่ทำให้เกิดความยุ่งยากบางอย่างที่ผู้เห็นพ้องนึกไม่ถึง
แต่ผู้ไม่เห็นพ้องกังวลใจ คือ ใช้พลังลบให้เป็นพลังบวกของการสร้างการเปลี่ยนแปลง
ชุมชนแห่งผู้นำ
เคล็ดลับสู่ความสำเร็จของ PLC คือ การขับเคลื่อนความเป็นผู้นำในหมู่ครูให้ออกมาโลดแล่น สร้างความริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อบรรลุเป้าหมาย การยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน บทนี้ให้คำแนะนำแก่ครูใหญ่ และผู้อำนวยการเขตการศึกษาว่าต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และใช้ยุทธศาสตร์ผู้นำรวมหมู่ ไม่ใช่ผู้นำเดี่ยว และยามที่ต้องยืนหยัดก็ต้องกล้ายืนหยัด
PLC เป็นเครื่องมือของ การเปลี่ยนชีวิตครู
โรงเรียนจะเปลี่ยนไปเป็นสถานที่ที่ทุกคนอยู่กันอย่างมีความสุข
(Happy Workplace) และเป็นองค์กรเรียนรู้ ซึ่งหมายความว่า PLC จะเปลี่ยนแปลงนักเรียน ครู ผู้บริหาร
และโรงเรียนอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง
เวทีครูเพื่อศิษย์ไทยครั้งแรก
เป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่คุณภาพการเรียนรู้ของศิษย์ ให้เรียนจากสัมผัสจริงของตนเอง ซึ่งจะทำให้เรียนสนุก เรียนได้ลึก (ได้ทั้งเนื้อวิชา และ ทักษะที่จำเป็นสำหรับชีวิตยุคใหม่) ครูเปลี่ยนบทบาทมาเป็นเพื่อน (ชัดที่สุดที่คือ ครูสุรนันท์) “ผู้อำนวยความสะดวก” (facilitator) และ “ครูฝึก” ไม่เป็นครูสอนอีกต่อไป
โจทย์ของครูธนิตย์
โจทย์ของครูธนิตย์ เป็นโจทย์ทักษะชีวิต (Life Skills) ของครู ว่าด้วยทักษะในการจัดลำดับความสำคัญในชีวิต ซึ่งมีวันละ
๒๔ ชั่วโมงเท่ากันทุกคน ว่าจะเลือกทำอะไร ไม่ทำอะไร
มีเกณฑ์อะไรในการเลือกทำหรือไม่ทำงานต่าง ๆ ที่เข้ามารุมเร้า
ภาค ๕ เรื่องเล่าตามบริบท
เตรียมทำการบ้านเพื่อการเป็นครู
การสอนที่ได้ผลเป็นเรื่องของจิตวิทยา (psychology) มากกว่าการเรียนการสอน (pedagogy) ดังที่ผู้เขียนเคยได้รับคำบอกจากศิษย์คนหนึ่งว่า “ครูสามารถกำหนดให้นักเรียนนั่งถือหนังสือห่วย ๆ ได้ทั้งวันแต่จะไม่มีวันบังคับให้นักเรียนอ่านหนังสือนั้นได้” คือ การเรียนนั้นบังคับครู พื่อศิษย์ ภาค ๕ เรื่องเล่าตามบริบท : จับความจากยอดครูมาฝากครูเพื่อศิษย์ 207ไม่ได้ เป็นความสมัครใจ ยินดีทำ ของนักเรียนเอง ครูต้องมีวิธีการใช้จิตวิทยาให้เกิดความอยากเรียน ไม่ใช่บังคับให้เรียน
ให้ได้ความไว้วางใจจากศิษย์
ครูต้องเรียนรู้ เสาะหา ทดลอง วิธีสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กอยากเรียน
รู้สึกสนุก และมีความสุขในชั้นเรียนและในกิจกรรมการเรียน วิธีหนึ่งคือบอกเด็กว่า
เมื่อเริ่มต้นเทอม ทุกคนได้เกรด A และคนที่ต้องการ A
เมื่อสิ้นเทอม ต้องทำงานเพื่อพิสูจน์ตนเองว่าคู่ควรกับเกรด A
โดยครูจะคอยช่วยเหลือ แนะนำ
สอนศิษย์กับสอนหลักสูตรแตกต่างกัน
การสอนศิษย์เน้นที่การเรียนรู้ของศิษย์ ไม่ใช่เน้นที่การสอนของครู
และไม่ใช่เน้นการสอนให้ครบตามเอกสารหลักสูตร ความยากลำบากของนักเรียนอย่างหนึ่งคือ
เป็น “โรคสำลักการสอน” เพราะโดนยัดเยียดเนื้อหาความรู้มากเกินไป
โดยไม่คำนึงถึงระดับพัฒนาการทางสมองของเด็กที่แม้อายุเท่ากัน เรียนชั้นเดียวกัน
แต่พัฒนาการทางสมองบางด้านต่างกัน หากครูไม่เอาใจใส่ ไม่สังเกต
เด็กที่สมองยังพัฒนาไม่ถึงขั้นที่จะเข้าใจสาระวิชานั้น
ก็จะเบื่อหรือเกลียดการเรียนวิชานั้น และอาจทำให้เกลียดการเรียนทั้งหมดไปอย่างน่าเสียดาย
ถ้อยคำที่ก้องอยู่ในหูเด็ก
คำพูดเชิงบวกต่อเด็กแต่ละคนมีผลต่อการสร้างพลังในชีวิตของเด็กมากแค่ไหน
และในทางตรงกันข้าม คำพูดเชิงลบเหยียดหยันเด็กจะทำลายชีวิตเด็กได้มากเช่นกัน
เตรียมตัว เตรียมตัว และเตรียมตัว
ครูต้องเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเปิดเทอม ๒ - ๓ สัปดาห์ เพื่อให้ตนเองพร้อมที่สุดกับการจัดการชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าสู่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายใน ๒ - ๓ วันแรก มิฉะนั้น สภาพการเรียนของนักเรียนในชั้นอาจเละเทะไปตลอดปี
จัดเอกสารและเตรียมตนเอง
การเตรียมตัวจัดระบบเอกสารช่วยให้ครูมีระบบ
ไม่ต้องพึ่งความจำมากเกินไป และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำสัปดาห์แรกให้เป็นสัปดาห์ แห่งความประทับใจ
อาจแจกบทความที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอน
ให้เด็กอ่านและเขียนปฏิกิริยาของตนต่อบทความนั้น ๑ - ๒ ย่อหน้า
ซึ่งจะช่วยให้ครูรู้จักพื้นฐานหลากหลายด้านของนักเรียนแต่ละคน เช่น
ความสามารถในการอ่านและจับใจความ อัตราเร็วในการอ่าน ทักษะในการเขียน บุคลิก
ความมั่นใจที่จะแสดงความคิดเห็นของตน และความร่วมมือกับครู
เตรียมพร้อมรับ “การทดสอบครู” และสร้างความพึงใจแก่ศิษย์
สิ่งที่ครูต้องไม่อดทน ต้องจัดการคือ
พฤติกรรมที่รบกวนการเรียนรู้ของชั้นเรียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในวันแรก ๆ ของปีการศึกษา
หากไม่จัดการให้เรียบร้อย ชั้นเรียนก็จะเละเทะไปตลอดปี
และทำลายผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนทั้งชั้น
วินัยไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ
วินัยมี ๒ ด้าน คือ วินัยเชิงบวกกับวินัยเชิงลบ ที่น่าเสียดายคือ
โรงเรียนมักจะติดการใช้วินัยเชิงลบคือ ใช้บังคับและลงโทษ แทนที่จะใช้วินัยเชิงบวก
เพื่อให้อิสระและความรู้สึกปลอดภัยแก่เด็ก
รวมทั้งเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ทักษะชีวิตวินัยเชิงลบจะสร้างความรู้สึกต่อต้านในใจเด็ก
และจะยิ่งยุให้เด็กทำผิดหรือท้าทาย เกิดเป็นวงจรชั่วร้ายในชีวิตเด็ก
ทำให้เด็กเบื่อเรียนและเสียคน ส่วนวินัยเชิงบวกจะช่วยลดความกลัวหรือวิตกกังวล
ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็ก
สร้างนิสัยรักเรียน
ครูต้องนำชีวิตของนักเรียนเข้าสู่ความสนุกสนานในการเรียน (The
Joy of Learning) ซึ่งจะทำให้มีนิสัยรักเรียน
อย่าปล่อยให้ศิษย์ตกอยู่ใต้สภาพความทุกข์ระทมในการเรียนซึ่งจะทำให้มีนิสัยเกลียดการเรียน
การอ่าน
การอ่านหนังสือไม่แตกคืออุปสรรคอันดับ ๑
ของการเรียนให้ได้ผล แท้จริงแล้ว ธรรมชาติของเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น อยากเข้าใจ
อยากประสบความสำเร็จ และการอ่านได้เป็นสิ่งหนึ่งที่ตอบสนองจิตวิทยาข้อนี้
แต่เด็กหลายคนตกเป็นเหยื่อของการบังคับ การทำให้การอ่านเป็นเรื่องน่าเบื่อ
หรือเป็นสิ่งที่ทำให้ตนเองต่ำต้อยน้อยหน้าเพราะอ่านไม่เก่งเท่าคนอื่น
ทำให้เกิดจิตใต้สำนึกที่เกลียดการอ่าน
ศิราณีตอบปัญหาครูและนักเรียน
ประเด็นตัวอย่างคำถามจากครู
- ครูภาษาอังกฤษ ชั้น ม. ๒ เขียนมาปรึกษาว่า ได้รับคำแนะนำ จากคนบางคนให้ “ตัดหางปล่อยวัด” ศิษย์บางคน เพราะเหลือขอ จริง ๆ คำแนะนำคือ ต้องไม่ท้อถอย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้อง “ชาร์จแบต” ของตนเองเป็นระยะ ๆ อย่าให้ “แบตหมด”
- ครูภาษาอังกฤษ ชั้น ม. ๒ เขียนมาปรึกษาว่า ได้รับคำแนะนำ จากคนบางคนให้ “ตัดหางปล่อยวัด” ศิษย์บางคน เพราะเหลือขอ จริง ๆ คำแนะนำคือ ต้องไม่ท้อถอย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้อง “ชาร์จแบต” ของตนเองเป็นระยะ ๆ อย่าให้ “แบตหมด”
ประหยัดเวลาและพลังงาน
แผนการสอนที่ถูกต้องจะช่วยให้ครูทำงานอย่างมีระบบ
ยืดหยุ่นและประหยัดเวลา
ยี่สิบปีจากนี้ไป
ยี่สิบปีหรือสี่สิบปีให้หลัง ครูอาจจำนักเรียนไม่ได้ แต่นักเรียนจะจำครูได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ที่ประทับใจศิษย์ไม่รู้ลืม
โดยที่ครูไม่คิดว่าสิ่งที่ตนทำจะมีความหมายถึงขนาดนั้นต่อนักเรียน
ภาค ๖ มองอนาคต...ปฏิรูปการศึกษาไทย
เรียนรู้จาก Malcolm
Gladwell
การเห็นคุณค่าและเคารพความแตกต่างหลากหลายของผู้คน
และนี่คือทักษะสำคัญอย่างหนึ่งในทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑
ที่ครูเพื่อศิษย์ไทยจะต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ของตนเกิดทักษะนี้จนกลายเป็นนิสัย
นิสัยเคารพความเห็น ความรู้สึกของผู้อื่นที่แตกต่างจากความเห็น ความรู้สึกของตน
Inquiry-Based Learning
IBL
(Inquiry-Based Learning) เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนตั้งคำถาม
ทำความชัดเจนของคำถาม แล้วดำเนินการหาคำตอบเอาเอง ตามความหมายในวิกิพีเดีย IBL
เป็นการเรียนแบบที่เรียกว่า Open Learning คือ
ไม่มีคำถามและคำตอบตายตัว เป็นรูปแบบการเรียนที่
ผู้เรียนได้ฝึกฝนความริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
ทักษะการจัดการสอบ
การมีผลลัพธ์ของการเรียนรู้
(Learning
Outcome) สองด้านคู่ขนาน คือ มีทั้งวิชาและทักษะนี้
เป็นเรื่องท้าทายมาก และจะไม่มีทางบรรลุได้ หากวงการศึกษายังสมาทานความเชื่อและวัฒนธรรมว่าด้วยการสอบแบบเดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน วัฒนธรรมนี้ทำให้การสอบเป็นเรื่องทุกข์ยากของนักเรียน
เพราะการสอบภายใต้วัฒนธรรมได้-ตกนั้น ไม่ใช่เป็นแค่ผลประโยชน์ของนักเรียน
แต่เป็นผลประโยชน์ของครู โรงเรียน และผู้บริหารการศึกษาระดับต่าง ๆ
PLC สู่ TTLC หรือชุมชนครูเพื่อศิษย์
PLC ย่อมาจาก Professional Learning Community ซึ่งก็หมายถึงชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) วิชาชีพครู ในที่นี้ผมขอเรียกว่า ชุมชนครูเพื่อศิษย์ หรือ ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชร. คศ.) ซึ่งก็คือการรวมตัวกัน “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.)” การทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์
แรงต้านที่อาจต้องเผชิญ
๑. นโยบายการศึกษายังเป็นนโยบายสำหรับยุคอุตสาหกรรม
๒. ระบบตรวจสอบและระบบวัดผลแบบทดสอบตามมาตรฐาน
๓. แรงเฉื่อยหรือความคุ้นเคยกับระบบการสอนแบบครูบอกเนื้อหาวิชาให้นักเรียนจดจำ
๔. ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมพิมพ์จำหน่ายตำราเรียน
๕. ความหวั่นกลัวว่าความรู้เชิงทฤษฎีจะถูกละเลย หันไปให้ความสำคัญต่อทักษะมากเกินไป
๖. อิทธิพลของพ่อแม่ที่ยึดติดกับการเรียนแบบดั้งเดิมที่ตนเคยเรียนมา และทำให้ตนประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน
๒. ระบบตรวจสอบและระบบวัดผลแบบทดสอบตามมาตรฐาน
๓. แรงเฉื่อยหรือความคุ้นเคยกับระบบการสอนแบบครูบอกเนื้อหาวิชาให้นักเรียนจดจำ
๔. ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมพิมพ์จำหน่ายตำราเรียน
๕. ความหวั่นกลัวว่าความรู้เชิงทฤษฎีจะถูกละเลย หันไปให้ความสำคัญต่อทักษะมากเกินไป
๖. อิทธิพลของพ่อแม่ที่ยึดติดกับการเรียนแบบดั้งเดิมที่ตนเคยเรียนมา และทำให้ตนประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน
สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำ
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
๑.
ยกเลิกระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของครู (คศ.) ที่ใช้ในปัจจุบัน
๒. มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของศิษย์ทั้งโรงเรียน หรือทั้งเขตการศึกษา
๓. ปราบปรามคอรัปชั่นเรียกเงินในการบรรจุหรือโยกย้ายครู
๔. แบ่งเงินลงทุนเพิ่มด้านการศึกษา ครึ่งหนึ่งไปไว้สนับสนุนการเรียนรู้ของครูประจำการในลักษณะการเรียนรู้ในการทำหน้าที่ครู
๕. จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำปีด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
๖. ยกระดับข้อสอบ National Education Test (NET) ให้ทดสอบการคิดที่ซับซ้อน และทักษะที่ซับซ้อน ตามแนวทางทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๗. ส่งเสริมการเรียนแบบ Project-Based Learning (PBL) โดยส่งเสริมให้มี PLC
๒. มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของศิษย์ทั้งโรงเรียน หรือทั้งเขตการศึกษา
๓. ปราบปรามคอรัปชั่นเรียกเงินในการบรรจุหรือโยกย้ายครู
๔. แบ่งเงินลงทุนเพิ่มด้านการศึกษา ครึ่งหนึ่งไปไว้สนับสนุนการเรียนรู้ของครูประจำการในลักษณะการเรียนรู้ในการทำหน้าที่ครู
๕. จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำปีด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
๖. ยกระดับข้อสอบ National Education Test (NET) ให้ทดสอบการคิดที่ซับซ้อน และทักษะที่ซับซ้อน ตามแนวทางทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๗. ส่งเสริมการเรียนแบบ Project-Based Learning (PBL) โดยส่งเสริมให้มี PLC
harbor freight titanium welder, stainless steel stainless steel, brass
ตอบลบThe stainless steel stainless steel stainless steel is the oakley titanium glasses perfect titanium charge gift for any dish you want, just a few days before Christmas microtouch titanium trim Day. The stainless titanium joes steel is titanium linear compensator the