ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือระบบเครือข่ายสากล ที่เกิดจากการรวมระบบเครือข่ายขนาดเล็กให้สื่อสาร และ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ โดยเป็นเครือข่ายที่มีเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งเปิดกว้างสู่สาธารณะอย่างแพร่หลาย หรืออาจกล่าวได้ว่า อินเตอร์เน็ตเป็นการผสมผสานกันของระบบเครือข่ายที่แตกต่างกันทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน สำหรับ ผู้ใช้ส่วนใหญ่นั้นจะสามารถเข้าถึงและใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ โดยเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม และสายโทรศัพท์ แต่ในความเป็นจริงนั้นเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในเครือข่ายนี้มีอยู่มากมายหลากหลาย ซึ่งมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยจะประกอบไปด้วยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) เกตเวร์ (Gateway) เราเตอร์ (Router) และสายสื่อสารเป็นจำนวนมากที่เชื่อมต่อสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) นั้นเป็นเสมือนผู้จำหน่ายที่จัดให้มีเส้นทางเข้าไปสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดย ISP แต่ละแห่งจะมีช่องทางการเชื่อมต่อของตนเองอยู่กับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต ด้วยสายการสื่อสารความเร็วสูงเช่น T1 เป็นต้น แม้ว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในระยะแรกจะอยู่บน พื้นฐานของการส่งข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) และรูปภาพ (Graphic) แต่ในปัจจุบัน ปริมาณและชนิดของข้อมูลบนเครือข่ายนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งมีทั้งภาพเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ (Graphic Animation) ข้อมูลเสียง (Audio) และวีดิโอ (Video) เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ กล้องดิจิทัล และลำโพงเป็นต้น คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) หรือ โฮสต์ (Host) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยทั่วไปต้องเป็นเครื่องคุณภาพสูง เพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูล จำนวนมาก
1.2 คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่รับ-ส่งข้อมูลมากจากเครื่องแม่ข่าย อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เครื่องโน๊ตบุ๊ค เครื่องแลปท็อป ฯลฯ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป ก็จัดเป็นเครื่องลูกข่ายทั้งสิ้น
2. ตัวกลางและอุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Device) หมายถึงอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือส่วนกลางกับคอมพิวเตอร์ลูกข่าย เป็นช่องทางสำหรับการรับ-ส่งข้อมูล ประกอบด้วย
2.1 โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปแบบสัญญาณข้อมูลระหว่างอะนาล็อกและดิจิทัล ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อนาที (bps) โมเด็มที่มีอัตราความเร็วบิตต่อนาทีสูง เช่น 512 mbps จะรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าโมเด็มขนาด 128 mbps
2.2 สายโทรศัพท์ (Telephone) หมายถึง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปซึ่งสามารถนำเอาสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องสำหรับเสียบสายเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์
2.3 สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) เป็นสายสัญญาณอีกชนิดหนึ่งที่ทำจากเส้นใยพิเศษที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าสายโทรศัพท์ทั่วไป
2.4 คลื่นวิทยุและดาวเทียม (Microwave and Satellite) เป็นระบบการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟรับ-ส่งสัญญาณแบบไร้สายจากดาวเทียม
3. มาตรฐานการควบคุมและการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Control/Internet Protocal) หมายถึง มาตรฐานที่ใช้ควบคุมและกำหนดเงื่อนไขในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
3.1 มาตรฐานทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocal/Internet Protocal) เป็นโพรโตคอลมาตรฐานสำหรับรับ-ส่งข้อมูลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.2 มาตรฐานเฮชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocol) เป็นมาตรฐานสำหรับการสืบค้นข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (HTML) กำหนดและควบคุมวิธีการสื่อสาร ผ่านโปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต หรือเบราว์เซอร์ (Browser) กับเครื่องแม่ข่ายหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
3.3 มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal ) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมและกำหนดวิธีการ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล
4. โปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Browser Program) ได้แก่โปรแกรมที่ใช้อ่านข้อมูลไฮเปอร์เท็กซ์ตามมาตรฐานเฮชทีเอ็มแอล (HTML) หรือเรียกว่าเบราว์เซอร์ เช่น Internet Explorer , Mozilla Firfox , Netscape Navigator และ Operaเป็นต้น เบราว์เซอร์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เสมือนอ่านหนังสือทีละหน้า สามารถแสดงผลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และอื่น ๆ
5. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) หมายถึงหน่วยงาน หรือ องค์กร ผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะเป็นสมาชิกของเครือข่าย ระดับประเทศนั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงไปยังประเทศต่าง ๆ สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายสำคัญหรือรายใหญ่ที่สุด ของไทย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท.
องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ กล้องดิจิทัล และลำโพงเป็นต้น คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) หรือ โฮสต์ (Host) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยทั่วไปต้องเป็นเครื่องคุณภาพสูง เพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูล จำนวนมาก
1.2 คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่รับ-ส่งข้อมูลมากจากเครื่องแม่ข่าย อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เครื่องโน๊ตบุ๊ค เครื่องแลปท็อป ฯลฯ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป ก็จัดเป็นเครื่องลูกข่ายทั้งสิ้น
2. ตัวกลางและอุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Device) หมายถึงอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือส่วนกลางกับคอมพิวเตอร์ลูกข่าย เป็นช่องทางสำหรับการรับ-ส่งข้อมูล ประกอบด้วย
2.1 โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปแบบสัญญาณข้อมูลระหว่างอะนาล็อกและดิจิทัล ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อนาที (bps) โมเด็มที่มีอัตราความเร็วบิตต่อนาทีสูง เช่น 512 mbps จะรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าโมเด็มขนาด 128 mbps
2.2 สายโทรศัพท์ (Telephone) หมายถึง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปซึ่งสามารถนำเอาสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องสำหรับเสียบสายเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์
2.3 สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) เป็นสายสัญญาณอีกชนิดหนึ่งที่ทำจากเส้นใยพิเศษที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าสายโทรศัพท์ทั่วไป
2.4 คลื่นวิทยุและดาวเทียม (Microwave and Satellite) เป็นระบบการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟรับ-ส่งสัญญาณแบบไร้สายจากดาวเทียม
3. มาตรฐานการควบคุมและการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Control/Internet Protocal) หมายถึง มาตรฐานที่ใช้ควบคุมและกำหนดเงื่อนไขในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
3.1 มาตรฐานทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocal/Internet Protocal) เป็นโพรโตคอลมาตรฐานสำหรับรับ-ส่งข้อมูลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.2 มาตรฐานเฮชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocol) เป็นมาตรฐานสำหรับการสืบค้นข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (HTML) กำหนดและควบคุมวิธีการสื่อสาร ผ่านโปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต หรือเบราว์เซอร์ (Browser) กับเครื่องแม่ข่ายหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
3.3 มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal ) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมและกำหนดวิธีการ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล
4. โปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Browser Program) ได้แก่โปรแกรมที่ใช้อ่านข้อมูลไฮเปอร์เท็กซ์ตามมาตรฐานเฮชทีเอ็มแอล (HTML) หรือเรียกว่าเบราว์เซอร์ เช่น Internet Explorer , Mozilla Firfox , Netscape Navigator และ Operaเป็นต้น เบราว์เซอร์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เสมือนอ่านหนังสือทีละหน้า สามารถแสดงผลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และอื่น ๆ
5. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) หมายถึงหน่วยงาน หรือ องค์กร ผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะเป็นสมาชิกของเครือข่าย ระดับประเทศนั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงไปยังประเทศต่าง ๆ สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายสำคัญหรือรายใหญ่ที่สุด ของไทย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท.